อ่านแล้วอยากเก็บไว้เลยเอามาแปะไว้ในนี้
คงไม่กล่าวหาว่าข้าพเจ้าลอกมาโดยไม่ระบุที่มานะเพราะให้เครดิตผู้เขียนเต็มที่เลย พร้อมแห่งอ้างอิง
ความรู้
โดย : ประเสริฐ เอี่ยมรุ่งโรจน์
ตอนที่ผมออกมาทำธุรกิจของตนเองกับหุ้นส่วนเมื่อหลายปีก่อน นึกในใจว่าแล้วเราจะเอาอะไรไปแข่งขันกับบริษัทข้ามชาติที่มี Know how มาจากบริษัทแม่
ผมใช้เวลาไตร่ตรองอยู่ไม่นาน ก็มีคำตอบให้กับตนเองว่าความรู้มีอยู่ทุกหนแห่ง ถ้าเราอยากรู้ เราสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง วิธีง่ายที่สุดคือเริ่มต้นจากการอ่าน ผมอ่านหนังสือต่างประเทศที่เกี่ยวกับเรื่องการบริหารจัดการ การตลาด เรื่อง Strategic development
ในช่วงหลายปีนี้ผมน่าจะอ่านหนังสือไปแล้วหลายร้อยเล่ม
นอกจากหนังสือผมยังติดตามองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่มีอยู่ในโลกของ Internet ทั้งเสียเงิน และไม่ต้องเสียเงิน
แล้วผมก็ทำตัวเป็นฟองน้ำกับเครื่องกรองน้ำที่จะตักเอาสิ่งที่ผมคิดว่าเป็นประโยชน์ โดยประมวลสิ่งเหล่านั้นเข้ามาใช้ในการทำธุรกิจ ทำให้เรามี Competitive edge ในการทำธุรกิจ
ที่ผมเขียนมาทั้งหมด ไม่ได้มีความต้องการที่จะเล่าเรื่องของตัวเอง เพียงอยากจะหยิบเรื่องนี้มาเป็นต้นเรื่องของการพูดคุยกับท่านผู้อ่านในหัวข้อเรื่องว่า “ความรู้”
ผมมีความเชื่อว่าความรู้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้คนอยากที่จะเรียนรู้ โดยรู้จักตั้งคำถามที่ถูกต้อง แล้วลงมือค้นหาคำตอบโดยการใช้สามัญสำนึกในการผสมผสานความรู้ข้ามสายพันธุ์ เพื่อทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่เปิดมุมมองใหม่ให้กับเรา
สาระสำคัญในเรื่องนี้มีอยู่สองประการ
ประการแรก สามัญสำนึกคือ Judgmental factor ว่าอะไรควรรู้และอะไรไม่มีประโยชน์ มันเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากที่บางครั้งผู้คนมองข้ามไป
เคยมีคนถามผมว่าแล้วคำว่าสามัญสำนึกคืออะไร ไปเปิดพจนานุกรม คำอธิบายของมันคือ Common feeling of humanity
ขออนุญาตยกตัวอย่างให้เข้าใจความหมายของคำว่า “สามัญสำนึก” ผมมีหลานคนหนึ่งเรียนอยู่ที่สหรัฐอเมริกา ทุกปีเขาจะกลับมาเยี่ยมบ้านตอนช่วงหน้าร้อน มีอยู่ปีหนึ่งมีเพื่อนของหลานมาถามว่าเขาขอมาอาศัยที่ห้องพักในช่วงที่หลานผมเดินทางกลับเมืองไทย ไม่รู้ว่าจะสะดวกหรือเปล่า หลานผมบอกว่าไม่มีปัญหา แต่ขอให้ดูแลห้องให้เรียบร้อยตอนที่เขาไม่ใช้ห้องแล้ว โดยถอดปลั๊กของอุปกรณ์ไฟฟ้าออกเพื่อความปลอดภัย
หนึ่งเดือนผ่านไปหลานผมเดินทางกลับมา เขาตกใจสุดขีดเมื่อเปิดตู้เย็นแล้วพบว่ามีมดและแมลงเต็มไปหมดบนจานอาหารที่อยู่ในตู้เย็น
ทำไมรู้ไหมครับ เพราะเพื่อนของเขาลืมเอาสามัญสำนึกมาใช้งาน จึงถอดปลั๊กตู้เย็นออกด้วยทั้งๆ ที่มีจานอาหารอยู่ในตู้เย็น
สามัญสำนึกสำคัญอย่างไร ผมคิดว่ามันทำหน้าที่เป็นตัวช่วยกรองสิ่งที่เข้าไปหัวสมองเรา ในชีวิตจริง หนังสือหลายเล่มเขียนดีแต่ดีในภาคทฤษฎี หลายเล่มดูเข้าท่าแต่ใช้งานได้ในบริบทของบ้านเมืองผู้เขียนเท่านั้น สามัญสำนึกเป็นตัวบอกเราว่าอะไรใช้งานได้ในชีวิตจริง
ประเด็นที่สอง องค์ความรู้ในโลกใหม่คือการผสมผสานความรู้ข้ามสายพันธุ์เพื่อเปิดมุมมองใหม่ให้กับผู้ใช้ภาษาที่ผมใช้คือ Category expertise ไม่สามารถทำให้เรามีความเป็นเลิศในสิ่งที่เราทำได้ เราต้องอาศัย Cross industry learning หยิบเอาความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องนำมาบวกลบคูณหารกับสิ่งที่เรารู้อยู่เดิมแล้ว แล้วสร้าง Correlation ของความรู้ต่างๆ ให้มีความสัมพันธ์กัน เพื่อทำให้เรามีมุมมองที่แตกต่างที่สร้างความได้เปรียบให้กับเรา
ทำไมจึงต้องเอา Category expertise ผสมกับ Cross industry learning
คำตอบง่ายนิดเดียวครับ เดียวนี้โลกเรามีความสลับซับซ้อนของปัญหามาก ไม่ใช่ชั้นเดียวเชิงเดียวเหมือนในอดีต ดังนั้นถ้าใครมองปัญหาด้วยองค์ความรู้เดียวน่าจะเสียเปรียบ เป็นการมองปัญหาไม่ครบมุม
สุดท้ายขออนุญาตเพิ่มเติมว่าความรู้เป็นสิ่งที่เคลื่อนไหว ดังนั้นการยึดติดคิดว่าความรู้เป็นของตายตัวจึงเป็นอุปสรรคที่ขัดขวางการเรียนรู้ และทำให้ผู้คนหยุดการพัฒนาตนเอง
ความอยากที่จะเรียนรู้ สามัญสำนึก และทักษะในการผสมความรู้คือที่มาของความรู้ใหม่ที่ทำให้คุณพึ่งพาตนเองได้
อ้างอิง จากและเมื่อวันที่ 30/4/2010 http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/prasert_blacksheep/20100429/112813/ความรู้.html
อืม....มีความรู้ไรดีๆ ก้อแบ่งกันอ่านแบ่งกันรู้
ตอบลบอยากเสนอความคิดเห็น...อยากให้ Bloger เขียนเรื่อง "เวลา"
มนุษย์กับเวลาเป็นสิ่งที่เดินคู่กัน บางคนใช้เวลาคุ้มค่า บางคนอาจปล่อย
เวลาผ่านไปวันๆ อยากทำโน่นทำนี่แต่บอกว่าไม่มีเวลา (ที่จิงอาจเป็นเพราะขี้เกียจมากกว่าแต่อ้างเวลาเฉย)
ในเวลา 24 ชั่วโมงที่ทุกคนมีเท่ากัน บางคนทำได้ตั้งหลายอย่าง
ในทางกลับกันมีคนไม่น้อยที่ใช้เวลาไม่เป็น มัวแต่รอเวลาหารู้ไม่ว่าเวลาไม่ได้รอเขาหรอก
ก้อเลยอยากให้ Bloger เขียนเรื่องเวลา จะได้เป็นแรงบันดาลใจให้กับคนที่คิดว่า "ไม่มีเวลา"
Thanks in advance..... _^_
อืม เดี๋ยวจะจัดให้แต่ไม่รู้จะได้อย่างที่แฟนคลับ 5555 ต้องการหรือเปล่านะ
ตอบลบ