วันศุกร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2553

ปัญหาหัวใจ (ภาคให้คำปรึกษา)

ต่อครับ...ข้าพเจ้าตอบไปดังนี้........


สลาม

ขอพระองค์จงชี้แนวทางให้ปวงบ่าวด้วย

อืม...โรคนี้ไม่รู้ใครๆ เขาเป็นกันหรือเปล่านะ แต่ที่แน่ๆ มันเป็นโรคประจำตัวของเรา

ขั่นแรกส้ม (ชื่อสมมุติละกัน เพราะข้าพเจ้าชอบกินส้ม) ก็ต้องขอดุอาอฺ ก็รู้อยู่แล้วนะว่าดุอาอฺมั
นสำคัญอย่างไรคงไม่จำเป็นต้องมาอธิบายอวดภูมิกันอีก ที่อยากจะเน้นย้ำตรงนี้คือการขอดุอาอฺให้หายขาดจากโรคนี้คงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ (ในความคิดของเรา) แต่ที่ดุอาอฺนั้นก็เพื่อให้มันทุเลาลงเพียงเท่านั้น และเมื่อมันทุเลาลงแล้วมันก็จะกำเริบขึ้นมาอีกนั่นเองที่เราบอกว่าการจะขอดุอาอฺให้หายขาดนั้นคงยาก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นความปรีชาญานของพระองค์มันอยู่เหนือขอบเขตที่เราจะไปจำกัดได้ว่าอันนั้นได้อันนี้ไม่ได้

ทีนี้ก็มาดูอาการและลักษณะรวมๆ ของโรคนี้กัน (ยังกะผู้เชี่ยวชาญเลยนะเรา
)

๑. เบื่อๆๆๆๆๆ มันเบื่อไปหมดไม่รู้จะทำยั
งไงให้มันหายเบื่อดี บางทีคิดว่าหากเราได้ไปเที่ยวที่นั่นที่นี่ หรือได้ไปเที่ยวรอบโลก หรือเปลี่ยนงานใหม่ หรือมีคนรัก หรือมีรถ มันคงหายเบื่อ แต่หากเป็นคนชนิดที่มิได้ยึดติดกับสิ่งปลูกสร้างภายนอก หรือลักษณะกายภาพอันดาดดื่น เราแน่ใจได้เลยว่าเขาเหล่านั้นรู้มานานแล้วการไปเที่ยว เคแอลซีซี หรือมีงานที่ให้เงินเดือนสูง มิได้ลดหย่อนความรู้สึกหดหู่หรือเบื่อหน่ายภายในจิตใจตนเองได้แม้แต่น้อย

๒. คนที่เป็นโรคนี้มั
กจะพยายามมองหาที่พึ่งต่างๆ นาๆ ไม่ว่าจะเป็นการไปเยี่ยมเพื่อน การโทรหาบิดามารดา การคลุกคลีกับคนรัก หรือแม้แต่การออนเอ็ม เพราะเขาไม่สามารถอยู่คนเดียวได้ จิตมันหดหู่  พยายามอย่างมากที่จะแสวงหาที่พึ่งทางใจ หรือแม้แต่การวิ่งเข้าหา พระศาสนาเพราะคิดว่านั่นคือที่พึ่งสุดท้ายและทรงประสิทธิภาพที่สุด

๓. มันก็มีทั้งคนที่ทำเหมือนกับว่
าภายในใจตนเองนั้นมิได้มีอะไร และดำเนินชีวิตไปเรื่อยๆ  และก็มีคนที่ไม่สามารถควบคุมสิ่งเหล่านั้นได้ มันจึงแสดงอาการออกมาทั้งทางใบหน้าและการกระทำ (อ่อนใจจึงทำให้อ่อนแรง)

๔. โรคเหล่านี้มิได้มีสาเหตุ
มาจากสาเหตุเดียว มันเป็นสาเหตุสะสมสิ่งละอันพันละน้อยเรื่อยๆ มา (โดยไม่รู้ตัว) เมื่อมาถึงจุดๆ หนึ่งอันเป็นเส้นด้ายเส้นสุดท้าย คือเป็นสาเหตุสุดท้ายมาทับถมสาเหตุก่อนหน้า มันจึงแสดงอาการหดหู่และส่งผลกระทบจิตใจอย่างมาก คือ ส้มต้องเข้าใจด้วยว่าที่เราหดหู่หรือเบื่อหน่ายกับชีวิตนั้นมันมิได้เกิดจากสาเหตุที่เราเจอวันนี้ แต่มันสะสมมาเรื่อยๆ เรื่องนี้เข้ามาเรื่องนั้นตามมาแต่มันเป็นเรื่องเล็กๆ ที่เราไม่ทันสังเกต พอถึงจุดแตกหักมันก็จะแสดงอาการให้เราเห็นเอง

๔. และที่สำคัญต้องตระหนักด้วยว่า (สำคัญมาก คือประมาณทำใจไว้เลย) ว่ามันเป็นแล้วก็หาย แล้วมันก็เป็นใหม่แล้วมันก็
หายอีก มันจะเป็นๆ หายๆ อย่างนี้ตราบเท่าที่เรายังมีชีวิตอยู่ (มันข้อสมมุติฐานของเราเอง เพราะเราศึกษาและสังเกตโรคนี้มานานจวบจนอายุเราปัจจุบัน จากตัวเองนะ) ดังนั้นก็ไม่ต้องไปให้ความสำคัญกับมันจนเกินไป มันจะเป็นก็เป็นไป ให้เพียงแต่รับรู้ว่าเราไม่สบายใจ แต่อย่าไปเสิรมแต่งมัน คือเป็นแล้วก็อย่าได้คิดมากเอาเรื่องต่างๆ นาๆ มาคิดเพิ่มอีก มันจะทำให้เรายิ่งไม่สบายใจและยิ่งหดหู่ ปล่อยมันเรื่อยๆ เดี๋ยวพระองค์ก็จะส่งเรื่องบางเรื่องเข้ามาทำให้มันหายเอง (ชั่วคราวนะเดี๋ยวมันก็กลับมาใหม่)

ทางแก้ (คิดเอาเอง เท่าที่ศึกษามาและจากประสบการณ์)
 

๑. อย่างที่บอกขอดุอาอฺ

๒. อยู่กับตนเองให้ได้ คือไม่จำเป็นต้องดูโทรทัศน์ หรืออ่านหนังสือ ทำใจให้สงบให้ได้ นั่งสมาธิ (อันนี้ก็สำคัญนะ ลอกไปศึกษาดู เรากำลังคิดว่าจะทำยังงัยที่
จะเอาสมาธิการสังเกตุลมหายใจตนเอง เข้าไปประยุกต์กับการละหมาด เพราะการละหมาดโดยตัวมันเองก็ต้องการ ให้เราทำสมาธิอยู่แล้ว จดจ่อกับการปฏิบัติและอายัตต่างๆ ที่เราอ่าน (คือการละหมาด คูชูอฺ นั่นเอง)) มิได้บอกว่าไม่ต้องดูโทรทัศน์ หรืออ่านหนังสือ ถ้าอยากจะดูโทรทัศน์หรืออ่านหนังสือก็ทำไป แต่ให้แน่ใจว่าเราดูโทรทัศน์เพราะเราอยากดูโทรทัศน์ และที่เราอยากอ่านหนังสือนั้นเพราะเราอยากอ่านหนังสือจริงๆ มิใช่เพราะเราเบื่อเราถึงดูโทรทัศน์ เพราะเราเบื่อเราถึงอ่านหนังสือ

๓. ยิ่งเราไขว่คว้าหาตัวช่วย เรายิ่งจะหาไม่เจอนะส้ม เพราะในที่สุดถึงแม้เราจะเจอตั
วช่วยที่เราหา แต่เราจะพบได้เองว่าในไม่ช้าว่าตัวช่วยที่เราพยายามหานั้น แต่เอะทำไมใจเรายังไม่สงบอยู่ดี ยังคงหดหู่อยู่ดี ต้องเข้าใจด้วยว่าอาการที่เป็นอยู่นั้นมันเป็นปัญหาทางใจ เป็นปัญหาทางความรู้สึก มิใช่เจ็บหัวตัวร้อนที่จะสามารถหายาภายนอกมารับประทาน ถ้าจะแก้ให้หายก็ต้องแก้จากภายใน แก้ที่ใจเราเองนี่แหละ ใครๆ ก็ช่วยอะไรเราไม่ได้ทั้งนั้น แล้วจริงไหมละ หลังจากที่ส้มวางหูโทรศัพท์หลังจากโทรคุยกับที่บ้าน ลองสังเกตดูว่าลึกๆ แล้วความหดหู่และเบื่อหน่ายนั้นมันหายไปจริงๆ หรือเปล่า

๔. และที่สำคัญ ไอ้ที่เราบอกว่าเรามีเป้
าหมายในชีวิตแล้วนั้น มันคือเป้าหมายในชีวิตจริงๆ ละหรือ ถ้ามันเป็นเป้าหมายชีวิตจริงๆ มันก็ต้องสามารถทำให้เรารู้สึกกระชุ่มกระชวย และรู้ซึ้งถึงคุณค่าของตัวเราในฐานะที่เป็นมนุษย์และเป็นบ่าวของพระองค์ บางทีเป้าหมายที่เราคิดว่าใช่มันอาจจะไม่ใช่ก็ได้นะส้ม เพราะเป้าหมายที่แท้จริงนอกจากจะตอบสนองความต้องการของกายภาพอินทรีย์เราแล้วมันต้องทำให้ใจเราสงบได้ด้วย และจงรู้ไว้เลยว่ายามใดที่เรารู้เป้าหมายที่แท้จริงในชีวิตเรา เมื่อนั้นใจเราจะสงบเป็นที่สุด ตื่นมาตอนเช้าก็รู้สึกว่าชีวิตมีความหวังเพราะเป้าหมายเรามิได้แห้งแล้งที่ให้แต่เงินตรา แต่มันทำให้เราสุขใจได้ด้วย งานนะมันต้องสามารถยกระดับจิตใจเราได้ด้วย มิฉะนั้นแล้วยามเมื่อว่างงานหรือลาหยุดเราก็จะรู้สึกอยากหางานมาทำตลอดเวลา เพราะเวลาทำงานเหมือนกับว่าเราได้หยุดความหดหู่ซักพักนึง ถ้าอย่างนั้นเราก็ต้องวิ่งทำงานตลอดเวลาซิ เพราะเมื่อไม่ทำใจเราก็ไม่สงบ ทีนี้มันก็กลับมาที่ใจเราอีกนั่นแหละ จะทำยังงัยให้ใจเราสงบโดยที่ไม่ต้องไม่ยึดติดกับอะไรทั้งนั้นไม่ ว่าจะเป็นบิดามารดา, คนรัก, หรือตัวงาน (ลองไปศึกษาเอาเองนะ ลองไปอ่านงานเขียนของ ฐิตินาถ ณ พัทลุง "เข็มทิศชีวิต เล่ม ๑" เขาเขียนเรื่องจิตและใจใช้ได้เลยนะ) 

ที่เขียนมาทั้งหมดใช่ว่าเราดี
กว่าส้มนะ อย่างที่บอกโรคนี้มันเป็นๆ หายๆ เราก็เป็นอยู่เรื่อยๆ แต่อาศัยที่ว่าเราคงจะเป็นบ่อยเกินขนาดเลยศึกษามันมาตลอด ก็พอจะแบ่งปันความรู้และความคิดของเราได้บ้าง,

เรายังเคยเขียนให้ตัวเองเลยว่า "หากชีวิตนี้เรามิได้เกิดมาเป็
นมุสลิม เราคงไม่สามารถมีชีวิตอยู่ และฆ่าตัวตายไปตั้งนานแล้ว เพราะทนบาดแผลจากโรคร้ายนี้ไม่ไหวจริงๆ" แต่ก็นั่นแหละการฆ่าตัวตายนั้นอิสลามบอกว่าบาปฉกรรจ์ตกนรกสถานเดียว ก็เขียนระบายนะ ให้ตายจริงๆ ก็กลัวหัวหดอีกนั่นแหละ เพียงแต่จะบอกว่าอาการของโรคนี้สำหรับเรามันรุนแรง ทั้งสิ้นทั้งปวงจงพึงประคับประคองจิตใจของเราให้สงบนิ่ง (ไม่ทั้งสุขและทุกข์ เหมือนวิถีพุทธเลยนะ แต่ถ้ารู้สึกว่ามันช่วยเราได้ก็น่าจะลองทำดู ตราบที่มันไม่ไปขัดแย้งกับหลักการอิสลามขั่นพื้นฐาน)

มีอะไรก็เมลล์มาละกัน



سليندونج بايو

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ14 ธันวาคม 2553 เวลา 00:09

    เป็นคำตอบที่ดี มีประโยชน์มาก....

    ขอบคุณ...อย่างสูงที่ได้กรุณาแชร์ความคิดเห็น..._^_

    ตอบลบ